ดุลอำนาจ
แนวความคิดว่าด้วยวิธีการที่รัฐต่าง ๆ ใช้จัดการกับปัญหาความมั่นคงแห่งชาติ ในรูปแบบของการยักย้ายความเป็นพันธมิตรและการเข้าฝักเข้าฝ่าย ระบบดุลอำนาจนี้เกิดขึ้นจากการรวมผลประโยชน์ของแต่ละรัฐที่มีความเกี่ยวข้องกันให้เข้ามารวมอยู่ด้วยกัน เพื่อขัดขวางผลประโยชน์ของรัฐอื่น ๆ ระบบนี้เกิดขึ้นเมื่อรัฐที่ต้องการเปลี่ยนสถานภาพเดิม ทำการคุกคามความมั่นคงของรัฐที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิม แนวความคิดเรื่องดุลอำนาจในทางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้น สามารถแสดงให้เห็นได้ในรูปของสมการอำนาจ กล่าวคือ แฟกเตอร์หรือองค์ประกอบของสมการแต่ละข้าง บางทีอาจจะเป็นแบบมีสมดุลกัน หรือบางทีก็อาจมีข้างหนึ่งหนักกว่าอีกข้างหนึ่ง ด้วยเหตุที่รัฐต่าง ๆล้วนมีอธิปไตยและจะพยายามเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติตนอยู่เสมอ ดุลอำนาจนี้จึงอยู่ในภาวะเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นปกติ รัฐใดรัฐหนึ่งอาจจงใจดำเนินนโยบายสร้างดุลอำนาจนี้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) เคยทำแบบนี้ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งนี้บริเตนใหญ่ (อังกฤษ) เล็งเห็นว่าผลประโยชน์ของตนจะสามารถรักษาไว้ได้ด้วยการที่ตนแสดงบทบาทเป็นผู้ถือดุล เพื่อดำรงดุลยภาพแห่งอำนาจในภาคพื้นยุโรป โดยวิธีที่คอยเคลื่อนย้ายน้ำหนักของตนเข้าไปหาฝ่ายที่อ่อนแอกว่าเมื่อยามที่ดุลยภาพถูกคุกคาม
ความสำคัญ ปรากฏการณ์ดุลอำนาจนี้ มีปรากฎอยู่ดาษดื่นในการเมืองระหว่างประเทศ และก็เป็นลักษณะสำคัญในการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจกัน นี้เป็นผลพวงเกิดจากระบบรัฐที่รัฐมวลสมาชิกซึ่งมีเอกราชมีอธิปไตย ต่างมีอิสระที่จะเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรและเข้าฝักเข้าฝ่าย เพราะแต่ละรัฐสมาชิกต่างก็พยายามที่จะเสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติให้แก่ฝ่ายตนทั้งนั้น ดุลอำนาจนี้มิใช่เรื่องของการแสดงออกถึงความสนใจทั่ว ๆ ไป ในรูปแบบที่เป็นนามธรรม อย่างเช่นในเรื่องของสันติภาพ ทั้งนี้เพราะสันติภาพอาจจะเป็นหรืออาจจะไม่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติตนก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกาลเวลา สถานที่ และสถานการณ์ ดุลอำนาจนี้ไม่มีองค์การกลางที่มาคอยชี้นำ และการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ ที่มาประกอบเป็นดุลอำนาจนี้จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือ จะมีการโยกย้ายสมาชิกภาพ การมารวมตัวกันมีห้วงเวลาสั้น ๆ และมีจุดประสงค์จำกัด ดุลอำนาจแบบหลากหลายได้เกิดขึ้นในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีลักษณะโดดเด่น คือ มีการโยกย้ายปรับเปลี่ยนการรวมตัวกันของมหาอำนาจต่าง ๆ อย่างน้อย 5 ชาติด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่น มีจุดประสงค์จำกัด และการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของมหาอำนาจที่มามีส่วนร่วมในดุลอำนาจนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ได้มีดุลอำนาจแบบง่าย ๆ หรือดุลอำนาจแบบสองขั้วเกิดขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการครอบงำของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา การเกิดดุลอำนาจแบบสองขั้วนี้เป็นสิ่งที่มีอันตราย เพราะเป็นการลดความยืดหยุ่น มีการแยกผลประโยชน์ไปตามประเด็นที่แยกสองอภิมหาอำนาจออกจากกัน และเป็นการลดโอกาสที่จะปรับเปลี่ยนฝ่ายกันใหม่ อย่างไรก็ดี เมื่อมีการผ่อนคลายความกระชับการเป็นพันธมิตรในสงครามเย็น และมีการพัฒนาระบบหลายขั้วอำนาจของทั้งสองฝ่ายในสมดุลอำนาจขึ้นมาแล้ว สภาวะก็ได้กลับคืนสู่ดุลอำนาจแบบหลากหลายอีกครั้งหนึ่ง กลไกดุลอำนาจระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นแบบง่าย ๆ หรือเป็นแบบซับซ้อน มีแนวโน้มที่จะบังเกิดขึ้น หากมีการจัดอำนาจทางการเมืองเสียใหม่ โดยให้กระจายออกไปอย่างกว้างขวางโดยยึดหลักการอื่นที่มิใช่ระบบกระจายอำนาจของรัฐที่มีเอกราชและอธิปไตยอย่างในปัจจุบัน
English-Thai Dictionary of Foreign Policy
พจนานุกรมศัพท์นโยบายต่างประเทศ อังกฤษ-ไทย :รวบรวมและเรียบเรียง โดย พลเรือตรี รศ.ทองใบ ธีรานันทางกูร
Thursday, September 24, 2009
Balance of Power : Bipolarity
ดุลอำนาจ : สองขั้วอำนาจ
ระบบดุลอำนาจแบบกระชับ ที่อำนาจแบ่งแยกออกไปอยู่ในศูนย์อำนาจที่ขัดแย้งกัน 2 ศูนย์ ระบบสองขั้วอำนาจนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบหลายขั้วอำนาจ ซึ่งอย่างหลังนี้จะมีหลายศูนย์อำนาจ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยให้ระบบดุลอำนาจเกิดภาวะสมดุล ส่วนระบบสองขั้วอำนาจจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐที่ต้องการแสวงหาความมั่นคงหรือการพึ่งพาทางด้านอุดมการณ์หรือทางด้านการเมือง ได้ยอมผูกพันตัวเองกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และยอมเข้าไปอยู่ในระบบสองขั้วอำนาจที่ครอบงำโดยมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่งในสองมหาอำนาจนั้น
ความสำคัญ ระบบสองขั้วอำนาจแบบกระชับนี้ เป็นลักษณะของระบบดุลอำนาจที่บังเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสองอภิมหาอำนาจ คือ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ทำการครอบงำค่าย "โลกเสรี" และค่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งทำการแข่งขันกันในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การผูกขาดอาวุธนิวเคลียร์ของแต่ละอภิมหาอำนาจภายในค่ายของตนนั้น ได้เป็นแรงบีบบังคับให้รัฐอื่น ๆ ตกอยู่ในฐานะที่จะต้องพึ่งพาเพื่อความมั่นคงของตน อีกทั้งก็ยังจะแบ่งแยกการตกลงใจในปัญหาเกี่ยวกับสันติภาพและสงครามออกเป็นสองอย่างตามค่ายของตนไปด้วย ประเทศเป็นกลางทั้งหลายก็จะถูกบีบบังคับอย่างต่อเนื่องจากทั้งสองฝ่ายให้มายอมศิโรราบต่อความยิ่งใหญ่ของสองอภิมหาอำนาจนี้ โดยผ่านทางการร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อปกป้องตนเองจากแผนการรุกรานของอีกค่ายหนึ่ง นับตั้งแต่ทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา ความกระชับของระบบสองขั้วอำนาจนี้ก็มีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากผลกระทบของระบบหลายขั้วอำนาจที่ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้เกิดการแตกสลายของระบบสองขั้วอำนาจนี้เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเกิดลัทธิชาตินิยมทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจในรัฐต่าง ๆ การแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ การควบคุมของสองอภิมหาอำนาจได้เพลากำลังลง เนื่องจากได้เกิดความตระหนักว่า อาวุธนิวเคลียร์ไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากใช้แล้วจะเป็นการเสี่ยงกับการถูกศัตรูใช้นิวเคลียร์ตอบโต้ย้อนกลับมาทำลายตนเองได้ รวมทั้งการแตกแยกทางด้านอุดมการณ์ภายในแต่ละค่ายก็ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ระบบดุลอำนาจแบบกระชับ ที่อำนาจแบ่งแยกออกไปอยู่ในศูนย์อำนาจที่ขัดแย้งกัน 2 ศูนย์ ระบบสองขั้วอำนาจนี้มีลักษณะตรงกันข้ามกับระบบหลายขั้วอำนาจ ซึ่งอย่างหลังนี้จะมีหลายศูนย์อำนาจ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยให้ระบบดุลอำนาจเกิดภาวะสมดุล ส่วนระบบสองขั้วอำนาจจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐที่ต้องการแสวงหาความมั่นคงหรือการพึ่งพาทางด้านอุดมการณ์หรือทางด้านการเมือง ได้ยอมผูกพันตัวเองกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และยอมเข้าไปอยู่ในระบบสองขั้วอำนาจที่ครอบงำโดยมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่งในสองมหาอำนาจนั้น
ความสำคัญ ระบบสองขั้วอำนาจแบบกระชับนี้ เป็นลักษณะของระบบดุลอำนาจที่บังเกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีสองอภิมหาอำนาจ คือ สหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ทำการครอบงำค่าย "โลกเสรี" และค่ายคอมมิวนิสต์ซึ่งทำการแข่งขันกันในด้านการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม การผูกขาดอาวุธนิวเคลียร์ของแต่ละอภิมหาอำนาจภายในค่ายของตนนั้น ได้เป็นแรงบีบบังคับให้รัฐอื่น ๆ ตกอยู่ในฐานะที่จะต้องพึ่งพาเพื่อความมั่นคงของตน อีกทั้งก็ยังจะแบ่งแยกการตกลงใจในปัญหาเกี่ยวกับสันติภาพและสงครามออกเป็นสองอย่างตามค่ายของตนไปด้วย ประเทศเป็นกลางทั้งหลายก็จะถูกบีบบังคับอย่างต่อเนื่องจากทั้งสองฝ่ายให้มายอมศิโรราบต่อความยิ่งใหญ่ของสองอภิมหาอำนาจนี้ โดยผ่านทางการร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อปกป้องตนเองจากแผนการรุกรานของอีกค่ายหนึ่ง นับตั้งแต่ทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา ความกระชับของระบบสองขั้วอำนาจนี้ก็มีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากผลกระทบของระบบหลายขั้วอำนาจที่ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น ต่อมาได้เกิดการแตกสลายของระบบสองขั้วอำนาจนี้เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การเกิดลัทธิชาตินิยมทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจในรัฐต่าง ๆ การแพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ การควบคุมของสองอภิมหาอำนาจได้เพลากำลังลง เนื่องจากได้เกิดความตระหนักว่า อาวุธนิวเคลียร์ไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากใช้แล้วจะเป็นการเสี่ยงกับการถูกศัตรูใช้นิวเคลียร์ตอบโต้ย้อนกลับมาทำลายตนเองได้ รวมทั้งการแตกแยกทางด้านอุดมการณ์ภายในแต่ละค่ายก็ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
Balance of Power : Polycentrism
ดุลอำนาจ : ระบบหลายขั้วอำนาจ
สถานการณ์ดุลอำนาจระหว่างประเทศที่มีลักษณะมีศูนย์กลางอำนาจจำนวนหนึ่ง ระบบหลายขั้วอำนาจหรือระบบดุลอำนาจแบบยืดหยุ่นนี้ เคยเป็นระบบที่มีขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีมหาอำนาจมามีส่วนร่วมในระบบอยู่จำนวนหนึ่ง ต่อมาระบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสองขั้วอำนาจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการควบคุมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
ความสำคัญ ที่ระบบหลายขั้วอำนาจกลับคืนมาได้นี้ ก็เพราะเกิดการแตกสลายของการครอบงำการเมือง ระหว่างประเทศโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในระบบสองขั้วอำนาจที่รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรแข่งขันกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นระบบหลายขั้วอำนาจประกอบด้วย (1) เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ดุลการคุกคาม“ ทางอาวุธนิวเคลียร์ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งไปลดความน่าเชื่อถือที่สองอภิมหาอำนาจนี้ได้ให้สัญญาไว้ว่าจะมาช่วยปกป้องพันธมิตรของฝ่ายตน (2) เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตก ซึ่งส่งผลให้มีการลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา (3) เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นมาใหม่ทั้งในประเทศเก่าและประเทศใหม่ทั้งหลาย (4) เกิดรัฐใหม่ขึ้นมามากมาย ซึ่งผู้นำของรัฐเหล่านี้ต่างแลเห็นว่าผลประโยชน์แห่งชาติตนอยู่ที่การสร้างความทันสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่รัฐตนยิ่งเสียกว่าจะพิจารณาในแง่การแข่งขันกันในสงครามเย็น การมีระบบหลายขั้วอำนาจนี้ หมายถึงว่า รัฐที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมามากนี้สามารถตัดสินใจได้โดยอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อระดับความตึงเครียดในโลกได้ด้วย
สถานการณ์ดุลอำนาจระหว่างประเทศที่มีลักษณะมีศูนย์กลางอำนาจจำนวนหนึ่ง ระบบหลายขั้วอำนาจหรือระบบดุลอำนาจแบบยืดหยุ่นนี้ เคยเป็นระบบที่มีขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีมหาอำนาจมามีส่วนร่วมในระบบอยู่จำนวนหนึ่ง ต่อมาระบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสองขั้วอำนาจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการควบคุมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
ความสำคัญ ที่ระบบหลายขั้วอำนาจกลับคืนมาได้นี้ ก็เพราะเกิดการแตกสลายของการครอบงำการเมือง ระหว่างประเทศโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในระบบสองขั้วอำนาจที่รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรแข่งขันกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นระบบหลายขั้วอำนาจประกอบด้วย (1) เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ดุลการคุกคาม“ ทางอาวุธนิวเคลียร์ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งไปลดความน่าเชื่อถือที่สองอภิมหาอำนาจนี้ได้ให้สัญญาไว้ว่าจะมาช่วยปกป้องพันธมิตรของฝ่ายตน (2) เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตก ซึ่งส่งผลให้มีการลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา (3) เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นมาใหม่ทั้งในประเทศเก่าและประเทศใหม่ทั้งหลาย (4) เกิดรัฐใหม่ขึ้นมามากมาย ซึ่งผู้นำของรัฐเหล่านี้ต่างแลเห็นว่าผลประโยชน์แห่งชาติตนอยู่ที่การสร้างความทันสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่รัฐตนยิ่งเสียกว่าจะพิจารณาในแง่การแข่งขันกันในสงครามเย็น การมีระบบหลายขั้วอำนาจนี้ หมายถึงว่า รัฐที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมามากนี้สามารถตัดสินใจได้โดยอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อระดับความตึงเครียดในโลกได้ด้วย
Foreign Office
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอังกฤษ) เป็นหน่วยงานของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่วางและดำเนินนโยบายต่างประเทศ นอกจากจะเรียกหน่วยงานนี้ว่า Foreign Office แล้ว ก็ยังมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษอย่างอื่นด้วย เช่น foreign ministry, ministry of foreign affairs, department of state รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงนี้ เรียกว่า foreign secretary, foreign minister, secretary of state ในรัฐใหญ่ ๆ กระทรวงการต่างประเทศนี้มีแนวโน้มที่จะถูกจัดการบริหารโดยการยึดทั้งหลักภูมิศาสตร์และหลักหน้าที่
ความสำคัญ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐใด ๆ ก็ตาม จะเป็นเครื่องมือให้ความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้ รายงานต่าง ๆ จากนักการทูตที่ส่งไปอยู่ตามประเทศต่าง ๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะมีการตรวจสอบและทำการตีค่าเพื่อให้เป็นข้อมูลดิบของนโยบายต่างประเทศในกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้นแล้ว กระทรวงการต่างประเทศนี้ก็ยังเป็นที่ร่างคำแนะนำทางนโยบายต่าง ๆ แล้วกส่งไปยังนักการทูตที่ไปประจำอยู่ ณ ต่างประเทศ ในสมัยก่อนหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศมีไม่ค่อยมากเท่าใด แต่ตกมาถึงเดี๋ยวนี้ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศใหญ่ ๆ เป็นหน่วยงานที่มีการขยายงานใหญ่โตขึ้นมาก มีการจ้างบุคลากรเข้ามาทำงานทั้งในประเทศและในต่างประเทศเป็นจำนวนนับพัน ๆ คน ในอดีตบุคลากรที่เข้ามาทำงานในกระทรวงการต่างประเทศนี้มักเป็นพวกสมัครเล่นที่ผ่านการคัดเลือกตามบุญตามกรรม แต่ตกมาถึงยุคโลกสมัยใหม่นี้ ได้เกิดความซับซ้อน ความหลากหลายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ก็จึงจำต้องคัดเลือกคนเข้าทำงานในลักษณะที่ต้องเป็นคนมีการศึกษาสูง มีการเลือกเฟ้น มีการฝึกปรือและมีความเชี่ยวชาญขนาดมืออาชีพมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น
กระทรวงการต่างประเทศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอังกฤษ) เป็นหน่วยงานของฝ่ายบริหาร มีหน้าที่วางและดำเนินนโยบายต่างประเทศ นอกจากจะเรียกหน่วยงานนี้ว่า Foreign Office แล้ว ก็ยังมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษอย่างอื่นด้วย เช่น foreign ministry, ministry of foreign affairs, department of state รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงนี้ เรียกว่า foreign secretary, foreign minister, secretary of state ในรัฐใหญ่ ๆ กระทรวงการต่างประเทศนี้มีแนวโน้มที่จะถูกจัดการบริหารโดยการยึดทั้งหลักภูมิศาสตร์และหลักหน้าที่
ความสำคัญ กระทรวงการต่างประเทศของรัฐใด ๆ ก็ตาม จะเป็นเครื่องมือให้ความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้ รายงานต่าง ๆ จากนักการทูตที่ส่งไปอยู่ตามประเทศต่าง ๆ เมื่อรับมาแล้วก็จะมีการตรวจสอบและทำการตีค่าเพื่อให้เป็นข้อมูลดิบของนโยบายต่างประเทศในกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนั้นแล้ว กระทรวงการต่างประเทศนี้ก็ยังเป็นที่ร่างคำแนะนำทางนโยบายต่าง ๆ แล้วกส่งไปยังนักการทูตที่ไปประจำอยู่ ณ ต่างประเทศ ในสมัยก่อนหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศมีไม่ค่อยมากเท่าใด แต่ตกมาถึงเดี๋ยวนี้ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศใหญ่ ๆ เป็นหน่วยงานที่มีการขยายงานใหญ่โตขึ้นมาก มีการจ้างบุคลากรเข้ามาทำงานทั้งในประเทศและในต่างประเทศเป็นจำนวนนับพัน ๆ คน ในอดีตบุคลากรที่เข้ามาทำงานในกระทรวงการต่างประเทศนี้มักเป็นพวกสมัครเล่นที่ผ่านการคัดเลือกตามบุญตามกรรม แต่ตกมาถึงยุคโลกสมัยใหม่นี้ ได้เกิดความซับซ้อน ความหลากหลายในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ก็จึงจำต้องคัดเลือกคนเข้าทำงานในลักษณะที่ต้องเป็นคนมีการศึกษาสูง มีการเลือกเฟ้น มีการฝึกปรือและมีความเชี่ยวชาญขนาดมืออาชีพมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น
Foreign Policy
นโยบายต่างประเทศ
ยุทธศาสตร์ หรือแผนปฏิบัติการที่พัฒนาโดยผู้มีอำนาจตัดสินใจแห่งรัฐเพื่อใช้ต่อรัฐอื่น หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่นิยามไว้ว่าเป็นประโยชน์แห่งชาติ นโยบายต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดำเนินการโดยรัฐนี้ อาจเป็นผลมาจากการริเริ่มของรัฐนั้นเองหรืออาจจะเป็นปฏิกิริยาต่อการริเริ่มที่ดำเนินการโดยรัฐอื่น นโยบายต่างประเทศจะเกี่ยวกับกระบวนการแบบพลวัตรของการใช้การตีความผลประโยชน์แห่งชาติที่ค่อนข้างจะกำหนดไว้แน่นอนแล้ว กับองค์ประกอบทางสถานการณ์ที่เลื่อนไหลไม่หยุดอยู่กับที่ของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติ และจากนั้นก็จะใช้ความพยายามในทางการทูตพื่อให้บรรลุถึงแนวนโยบายให้ได้ สำหรับลำดับขั้นตอนในกระบวนการนโยบายต่างประเทศประกอบด้วย (1) การแปลสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติให้เป็นเป้าหมายและจุดประสงค์ (2) การกำหนดองค์ประกอบทางสถานการณ์ทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับภายในประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมายของนโยบาย (3) การวิเคราะห์ขีดความสามารถของรัฐในการที่จะให้บรรลุถึงผลลัพธ์ตามที่ต้องการ (4) การพัฒนาแผนงานหรือยุทธศาสตร์เพื่อจะใช้ขีดความสามารถของรัฐเพื่อดำเนินการกับตัวแปรต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (5) การปฏิบัติการสำคัญ ๆ (6) การทบทวนและการวัดผลความคืบหน้าในการที่จะให้บรรลุถึงผลที่ต้องการตามห้วงเวลาต่าง ๆ กระบวนการที่ว่ามานี้จะไม่เป็นไปตามลำดับดังข้างต้นนี้ก็ได้ บางทีในกระบวนการอาจมีการดำเนินการขั้นตอนหลายอย่างพร้อม ๆ กัน และอาจจะต้องมีการไปเริ่มประเด็นพื้นฐานใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเงื่อนไขต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดภาวะชะงักงันขึ้นมา ด้วยเหตุที่สถานการณ์ระหว่างประเทศจะมีลักษณะเลื่อนไหลอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น กระบวนการนโยบายต่างประเทศก็จะมีลักษณะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ความสำคัญ ถึงแม้ว่านโยบายต่างประเทศนี้จะไม่สามารถแยกออกจากนโยบายภายในประเทศได้โดยสิ้นเชิง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตัดสินใจที่ดำเนินการโดยรัฐส่วนใหญ่ ว่าโดยทั่ว ๆ ไปนั้น รัฐที่มีอำนาจมาก ๆ จะทุ่มเทความพยายามและทรัพยากรของตนให้กับการพัฒนาและการดำเนินนโยบายต่างประเทศนี้ยิ่งกว่ารัฐขนาดกลางหรือรัฐเล็ก ๆ คำว่า "นโยบายต่างประเทศ" แม้ว่าจะชอบใช้กันในความหมายกว้าง ๆ ที่กินความไปถึงโครงการต่างประเทศทั้งหลายทั้งปวงที่รัฐดำเนินการอยู่ แต่ก็สามารถใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวกับสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และการปฏิบัติการของรัฐที่จะให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่จำกัดนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐก็จะต้องดำเนินนโยบายหลายอย่าง ต้องตั้งเป้าหมายไว้หลายเป้าหมาย ต้องวางแผนทางยุทธศาสตร์ไว้หลายแผน ต้องทำการตีค่าขีดความสามารถไว้หลาย ๆ อย่าง ตลอดจนต้องทำการริเริ่มและตีค่าการตัดสินใจและการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไว้โดยตลอด จะต้องมีการประสานระหว่างนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้การวางแผนงานและการปฏิบัติการต่าง ๆ อยู่ในกรอบกว้าง ๆ ของแนวปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นนี้ส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการในกระทรวงการต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านทางระบบราชการที่จัดแบ่งเป็นหน่วยงานในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ การปฏิบัติการทางนโยบายต่างประเทศยากที่จะประเมินผล ทั้งนี้เพราะ (1) ผลดีและผลเสียในระยะสั้นจะต้องนำมาเปรียบเทียบกับผลดีและผลเสียในระยะยาว (2) ผลกระทบที่เกิดกับชาติต่าง ๆ ยากที่จะประเมิน (3) นโยบายส่วนใหญ่จะส่งผลออกมาในลักษณะที่มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งยากจะแยกแยะออกจากกันได้
ยุทธศาสตร์ หรือแผนปฏิบัติการที่พัฒนาโดยผู้มีอำนาจตัดสินใจแห่งรัฐเพื่อใช้ต่อรัฐอื่น หรือองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งที่นิยามไว้ว่าเป็นประโยชน์แห่งชาติ นโยบายต่างประเทศอย่างใดอย่างหนึ่งที่ดำเนินการโดยรัฐนี้ อาจเป็นผลมาจากการริเริ่มของรัฐนั้นเองหรืออาจจะเป็นปฏิกิริยาต่อการริเริ่มที่ดำเนินการโดยรัฐอื่น นโยบายต่างประเทศจะเกี่ยวกับกระบวนการแบบพลวัตรของการใช้การตีความผลประโยชน์แห่งชาติที่ค่อนข้างจะกำหนดไว้แน่นอนแล้ว กับองค์ประกอบทางสถานการณ์ที่เลื่อนไหลไม่หยุดอยู่กับที่ของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติ และจากนั้นก็จะใช้ความพยายามในทางการทูตพื่อให้บรรลุถึงแนวนโยบายให้ได้ สำหรับลำดับขั้นตอนในกระบวนการนโยบายต่างประเทศประกอบด้วย (1) การแปลสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นผลประโยชน์แห่งชาติให้เป็นเป้าหมายและจุดประสงค์ (2) การกำหนดองค์ประกอบทางสถานการณ์ทั้งในระดับระหว่างประเทศและในระดับภายในประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าหมายของนโยบาย (3) การวิเคราะห์ขีดความสามารถของรัฐในการที่จะให้บรรลุถึงผลลัพธ์ตามที่ต้องการ (4) การพัฒนาแผนงานหรือยุทธศาสตร์เพื่อจะใช้ขีดความสามารถของรัฐเพื่อดำเนินการกับตัวแปรต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (5) การปฏิบัติการสำคัญ ๆ (6) การทบทวนและการวัดผลความคืบหน้าในการที่จะให้บรรลุถึงผลที่ต้องการตามห้วงเวลาต่าง ๆ กระบวนการที่ว่ามานี้จะไม่เป็นไปตามลำดับดังข้างต้นนี้ก็ได้ บางทีในกระบวนการอาจมีการดำเนินการขั้นตอนหลายอย่างพร้อม ๆ กัน และอาจจะต้องมีการไปเริ่มประเด็นพื้นฐานใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเงื่อนไขต่าง ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดภาวะชะงักงันขึ้นมา ด้วยเหตุที่สถานการณ์ระหว่างประเทศจะมีลักษณะเลื่อนไหลอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้น กระบวนการนโยบายต่างประเทศก็จะมีลักษณะต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
ความสำคัญ ถึงแม้ว่านโยบายต่างประเทศนี้จะไม่สามารถแยกออกจากนโยบายภายในประเทศได้โดยสิ้นเชิง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตัดสินใจที่ดำเนินการโดยรัฐส่วนใหญ่ ว่าโดยทั่ว ๆ ไปนั้น รัฐที่มีอำนาจมาก ๆ จะทุ่มเทความพยายามและทรัพยากรของตนให้กับการพัฒนาและการดำเนินนโยบายต่างประเทศนี้ยิ่งกว่ารัฐขนาดกลางหรือรัฐเล็ก ๆ คำว่า "นโยบายต่างประเทศ" แม้ว่าจะชอบใช้กันในความหมายกว้าง ๆ ที่กินความไปถึงโครงการต่างประเทศทั้งหลายทั้งปวงที่รัฐดำเนินการอยู่ แต่ก็สามารถใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวกับสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และการปฏิบัติการของรัฐที่จะให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่จำกัดนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้รัฐก็จะต้องดำเนินนโยบายหลายอย่าง ต้องตั้งเป้าหมายไว้หลายเป้าหมาย ต้องวางแผนทางยุทธศาสตร์ไว้หลายแผน ต้องทำการตีค่าขีดความสามารถไว้หลาย ๆ อย่าง ตลอดจนต้องทำการริเริ่มและตีค่าการตัดสินใจและการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งไว้โดยตลอด จะต้องมีการประสานระหว่างนโยบายต่าง ๆ เพื่อให้การวางแผนงานและการปฏิบัติการต่าง ๆ อยู่ในกรอบกว้าง ๆ ของแนวปฏิบัติเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ กิจกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นนี้ส่วนใหญ่แล้วจะดำเนินการในกระทรวงการต่างประเทศของรัฐต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านทางระบบราชการที่จัดแบ่งเป็นหน่วยงานในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ การปฏิบัติการทางนโยบายต่างประเทศยากที่จะประเมินผล ทั้งนี้เพราะ (1) ผลดีและผลเสียในระยะสั้นจะต้องนำมาเปรียบเทียบกับผลดีและผลเสียในระยะยาว (2) ผลกระทบที่เกิดกับชาติต่าง ๆ ยากที่จะประเมิน (3) นโยบายส่วนใหญ่จะส่งผลออกมาในลักษณะที่มีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งยากจะแยกแยะออกจากกันได้
Foreign Policy Approach : Realist-Idealist Dichotomy
แนวสู่การศึกษานโยบายต่างประเทศ:แนวสัจนิยม-แนวอุดมคตินิยม
แนวสู่การศึกษาที่เป็นทางเลือกของผู้มีอำนาจตัดสินใจในการสร้างนโยบายต่างประเทศ แนวสู่การศึกษาแบบสัจนิยม ในการสร้างนโยบายต่างประเทศนั้น โดยพื้นฐานแล้วมีลักษณะแบบประจักษ์และยึดแนวทางปฏิบัติ ส่วนแนวสู่การศึกษาแบบอุดมคตินิยมนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของนโยบายต่างประเทศที่เป็นนามธรรมยึดประเพณีนิยม คือ จะเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ตัวบทกฎหมาย และค่านิยมทางศีลธรรม-จริยธรรม พวกที่ยึดแบบสัจนิยมมีสมมติฐานว่า องค์ประกอบสำคัญที่ดาษดื่นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็คือ อำนาจ ดังนั้น การใช้อำนาจอย่างชาญฉลาดและอย่างมีประสิทธิผลของรัฐในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นองค์ประกอบหลักของนโยบายต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ส่วนพวกที่ยึดแนวอุดมคตินิยม มีความเชื่อตรงกันข้ามว่า นโยบายต่างประเทศที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักการทางศีลธรรม จะมีประสิทธิผลมากกว่าเพราะจะไปช่วยส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างรัฐต่าง ๆ ยิ่งกว่าจะไปกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและการขัดแย้งกัน พวกยึดแนวอุดมคตินิยมบอกว่าพลังทางศีลธรรมจะมีประสิทธิผลกว่าพลังทางกายภาพ เพราะมีความคงทนถาวรมากกว่ากัน คือ แทนที่จะใช้กำลังและการบีบบังคับ แนวทางแบบอุดมคตินิยมก็จะใช้วิธีการเอาชนะใจและสร้างความจงรักภักดีให้คนหันมายอมรับหลักการต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
ความสำคัญ แนวสู่การศึกษาแบบสัจนิยมและอุดมคตินิยมนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับการอภิปรายถกเถียงกันถึงเรื่องที่ว่า ควรจะใช้แนวในการสร้างนโยบายต่างประเทศแบบไหนถึงจะเป็นแนวที่ดีที่สุด ในประเทศสหรัฐอเมริกา พวกที่ยึดถือตามแนวสัจนิยมบอกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศชั้นแนวหน้าเพียงประเทศเดียวก็ว่าได้ ที่ถูกทัศนคติของประชาชนและหลักการทางศีลธรรมชี้นำอย่างผิด ๆ ให้ไปยอมรับแนวปฏิบัติแบบอุดมคตินิยมมาใช้เป็นหลักในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ผลที่เกิดขึ้นตามที่พวกสัจนิยมเห็น ก็คือ การไร้ความสามารถของสหรัฐอเมริกาที่จะแข่งขันอย่างมีประสิทธิผลกับรัฐอื่น ๆ ซึ่งวางนโยบายอยู่บนความจริงแท้ของผลประโยชน์แห่งชาติของตน ส่วนพวกอุดมคตินิยมก็มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธแนวทางสู่การศึกษาแบบสัจนิยมที่ถืออำนาจเป็นแกนกลาง โดยบอกว่าเป็นแนวของพวกถือลัทธิแมคเคียเวลลี ซึ่งจะก่อประโยชน์แก่ชาติเพียงเล็กน้อยและช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น พวกยึดแนวแบบอุดมคตินิยมนี้บอกด้วยว่า นโยบายที่จะประสบความสำเร็จส่วนใหญ่แล้ว ก็คือ นโยบายที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักการและค่านิยมทางศีลธรรม และก็จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชาติต่าง ๆ จำนวนนับล้าน ๆ คนด้วย แนวทางนโยบายแบบอุดมคตินิยมที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มีตัวอย่างเช่น หลักการโฟร์ทีนพอยท์ ของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน กฎบัตรแอตแลนติกเหนือ ที่ประกาศโดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ ตลอดจนกฎบัตรสหประชาชาติ เป็นต้น แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้ว นโยบายส่วนใหญ่จะเป็นการผสมผสานระหว่างลัทธิสัจนิยมและอุดมคตินิยม กล่าวคือ จะใช้แนวทางแบบสัจนิยมมาเป็นตัวกำหนดมรรควิธีที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมาย และใช้แนวทางแบบอุดมคติมาเป็นข้ออ้างเหตุผลให้คนสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐรับมาดำเนินการ
แนวสู่การศึกษาที่เป็นทางเลือกของผู้มีอำนาจตัดสินใจในการสร้างนโยบายต่างประเทศ แนวสู่การศึกษาแบบสัจนิยม ในการสร้างนโยบายต่างประเทศนั้น โดยพื้นฐานแล้วมีลักษณะแบบประจักษ์และยึดแนวทางปฏิบัติ ส่วนแนวสู่การศึกษาแบบอุดมคตินิยมนั้น ตั้งอยู่บนรากฐานของนโยบายต่างประเทศที่เป็นนามธรรมยึดประเพณีนิยม คือ จะเกี่ยวข้องกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ตัวบทกฎหมาย และค่านิยมทางศีลธรรม-จริยธรรม พวกที่ยึดแบบสัจนิยมมีสมมติฐานว่า องค์ประกอบสำคัญที่ดาษดื่นในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ก็คือ อำนาจ ดังนั้น การใช้อำนาจอย่างชาญฉลาดและอย่างมีประสิทธิผลของรัฐในการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ เป็นองค์ประกอบหลักของนโยบายต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ส่วนพวกที่ยึดแนวอุดมคตินิยม มีความเชื่อตรงกันข้ามว่า นโยบายต่างประเทศที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักการทางศีลธรรม จะมีประสิทธิผลมากกว่าเพราะจะไปช่วยส่งเสริมความสามัคคีและความร่วมมือระหว่างรัฐต่าง ๆ ยิ่งกว่าจะไปกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและการขัดแย้งกัน พวกยึดแนวอุดมคตินิยมบอกว่าพลังทางศีลธรรมจะมีประสิทธิผลกว่าพลังทางกายภาพ เพราะมีความคงทนถาวรมากกว่ากัน คือ แทนที่จะใช้กำลังและการบีบบังคับ แนวทางแบบอุดมคตินิยมก็จะใช้วิธีการเอาชนะใจและสร้างความจงรักภักดีให้คนหันมายอมรับหลักการต่าง ๆ ที่ใช้ควบคุมพฤติกรรมของรัฐ
ความสำคัญ แนวสู่การศึกษาแบบสัจนิยมและอุดมคตินิยมนี้ มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับการอภิปรายถกเถียงกันถึงเรื่องที่ว่า ควรจะใช้แนวในการสร้างนโยบายต่างประเทศแบบไหนถึงจะเป็นแนวที่ดีที่สุด ในประเทศสหรัฐอเมริกา พวกที่ยึดถือตามแนวสัจนิยมบอกว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศชั้นแนวหน้าเพียงประเทศเดียวก็ว่าได้ ที่ถูกทัศนคติของประชาชนและหลักการทางศีลธรรมชี้นำอย่างผิด ๆ ให้ไปยอมรับแนวปฏิบัติแบบอุดมคตินิยมมาใช้เป็นหลักในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ผลที่เกิดขึ้นตามที่พวกสัจนิยมเห็น ก็คือ การไร้ความสามารถของสหรัฐอเมริกาที่จะแข่งขันอย่างมีประสิทธิผลกับรัฐอื่น ๆ ซึ่งวางนโยบายอยู่บนความจริงแท้ของผลประโยชน์แห่งชาติของตน ส่วนพวกอุดมคตินิยมก็มีแนวโน้มที่จะปฏิเสธแนวทางสู่การศึกษาแบบสัจนิยมที่ถืออำนาจเป็นแกนกลาง โดยบอกว่าเป็นแนวของพวกถือลัทธิแมคเคียเวลลี ซึ่งจะก่อประโยชน์แก่ชาติเพียงเล็กน้อยและช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น พวกยึดแนวแบบอุดมคตินิยมนี้บอกด้วยว่า นโยบายที่จะประสบความสำเร็จส่วนใหญ่แล้ว ก็คือ นโยบายที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักการและค่านิยมทางศีลธรรม และก็จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในชาติต่าง ๆ จำนวนนับล้าน ๆ คนด้วย แนวทางนโยบายแบบอุดมคตินิยมที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว มีตัวอย่างเช่น หลักการโฟร์ทีนพอยท์ ของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน กฎบัตรแอตแลนติกเหนือ ที่ประกาศโดยประธานาธิบดี แฟรงกลิน รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิลล์ แห่งอังกฤษ ตลอดจนกฎบัตรสหประชาชาติ เป็นต้น แต่ว่าในทางปฏิบัติแล้ว นโยบายส่วนใหญ่จะเป็นการผสมผสานระหว่างลัทธิสัจนิยมและอุดมคตินิยม กล่าวคือ จะใช้แนวทางแบบสัจนิยมมาเป็นตัวกำหนดมรรควิธีที่จะให้บรรลุถึงเป้าหมาย และใช้แนวทางแบบอุดมคติมาเป็นข้ออ้างเหตุผลให้คนสนับสนุนนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐรับมาดำเนินการ
Foreign Policy Approach : Revisionist
แนวสู่การศึกษานโยบายต่างประเทศ : แนวต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิม
นโยบายต่างประเทศที่รัฐพยายามจะเปลี่ยนแปลงการกระจายดินแดน อุดมการณ์ หรืออำนาจระหว่างประเทศที่มีอยู่แต่เดิม เพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายตน นโยบายการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้จะมีลักษณะชอบขยายดินแดนและแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมา ดังนั้น รัฐจะมีแนวโน้มไปในทางที่จะดำเนินโบายแบบนี้ หากว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่พึงพอใจกับสถานภาพเดิมที่มีอยู่นั้น และมีความเชื่อว่ารัฐตนมีความสามารถที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้นี้
ความสำคัญ นโยบายต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้ ปกติแล้วจะนำมาดำเนินโดยรัฐ”ที่ไม่มี” หรือรัฐ”ที่ไม่พึงพอใจ” จึงได้หาทางปรับปรุงสถานะระหว่างประเทศของตน โดยดำเนินการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รัฐที่ยึดแนวนโยบายต้องการเปลี่ยนสถานภาพเดิมนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ยุทธวิธีเชิงรุกไม่ใช้ความรุนแรงหลากหลายในการที่จะให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย แต่ในที่สุดก็อาจจะใช้ปฏิบัติการแข็งกร้าวหรือประกาศสงครามไปเลยในการที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิม แม้แต่ในรัฐที่ยึดแนวทางแบบรักษาสถานภาพเดิม หากไปยึดถือลัทธิต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้เข้าแล้วก็จะมีแนวโน้มไปในทางที่จะใช้นโยบายเชิงรุกต่าง ๆ ขึ้นมา แม้แต่ในเรื่องของการแยกตัวเป็นฝักเป็นฝ่ายของรัฐต่าง ๆ ที่เป็นผลพวงมาจากการแบ่งแยกระหว่างรัฐที่ยึดแนวต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมกับรัฐที่ยึดแนวต้องการรักษาสถานภาพเดิม ก็จะเป็นการส่งเสริมให้มีการก่อตัวตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มที่ทำการต่อต้านตรงกันข้ามขึ้นมา รวมทั้งจะทำให้เกิดระบบดุลอำนาจขึ้นมาได้ด้วย รัฐที่ยึดแนวทางต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิม มีแนวโน้มที่จะมองการทูต สนธิสัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ตนสามารถใช้เพื่อชิงความได้เปรียบในการต่อสู้แสวงหาอำนาจ ยิ่งเสียกว่าจะเห็นว่าสิ่งดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขจัดความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมนีที่นาซีเข้าครองอำนาจอยู่นั้น ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสถานะทางอำนาจและทางดินแดนของตนในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1930 โดยการสร้างเสริมอาวุธขึ้นมาใหม่ อันเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และได้ปฏิบัติการหลอกลวงต่าง ๆ ตลอดจนทำการคุกคามด้วยการขู่ว่าจะทำสงคราม ใช้การเมืองบีบรัฐที่อ่อนแอกว่า และใช้วิถีทางการทูตมีชัยชนะหลายครั้งจนสามารถทำข้อตกลงที่เมืองมิวนิคได้สำเร็จ เป็นต้น แต่พอครั้นยุทธวิธีเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในระยะต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ได้นำชาติของเขาเข้าสู่สงครามกับกลุ่มชาติที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิม
นโยบายต่างประเทศที่รัฐพยายามจะเปลี่ยนแปลงการกระจายดินแดน อุดมการณ์ หรืออำนาจระหว่างประเทศที่มีอยู่แต่เดิม เพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายตน นโยบายการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้จะมีลักษณะชอบขยายดินแดนและแสวงหาสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมา ดังนั้น รัฐจะมีแนวโน้มไปในทางที่จะดำเนินโบายแบบนี้ หากว่าผู้มีอำนาจตัดสินใจไม่พึงพอใจกับสถานภาพเดิมที่มีอยู่นั้น และมีความเชื่อว่ารัฐตนมีความสามารถที่จะบรรลุถึงเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้นี้
ความสำคัญ นโยบายต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้ ปกติแล้วจะนำมาดำเนินโดยรัฐ”ที่ไม่มี” หรือรัฐ”ที่ไม่พึงพอใจ” จึงได้หาทางปรับปรุงสถานะระหว่างประเทศของตน โดยดำเนินการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รัฐที่ยึดแนวนโยบายต้องการเปลี่ยนสถานภาพเดิมนี้ ถึงแม้ว่าจะใช้ยุทธวิธีเชิงรุกไม่ใช้ความรุนแรงหลากหลายในการที่จะให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย แต่ในที่สุดก็อาจจะใช้ปฏิบัติการแข็งกร้าวหรือประกาศสงครามไปเลยในการที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิม แม้แต่ในรัฐที่ยึดแนวทางแบบรักษาสถานภาพเดิม หากไปยึดถือลัทธิต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมนี้เข้าแล้วก็จะมีแนวโน้มไปในทางที่จะใช้นโยบายเชิงรุกต่าง ๆ ขึ้นมา แม้แต่ในเรื่องของการแยกตัวเป็นฝักเป็นฝ่ายของรัฐต่าง ๆ ที่เป็นผลพวงมาจากการแบ่งแยกระหว่างรัฐที่ยึดแนวต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิมกับรัฐที่ยึดแนวต้องการรักษาสถานภาพเดิม ก็จะเป็นการส่งเสริมให้มีการก่อตัวตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตร และกลุ่มที่ทำการต่อต้านตรงกันข้ามขึ้นมา รวมทั้งจะทำให้เกิดระบบดุลอำนาจขึ้นมาได้ด้วย รัฐที่ยึดแนวทางต้องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพเดิม มีแนวโน้มที่จะมองการทูต สนธิสัญญา กฎหมายระหว่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ตนสามารถใช้เพื่อชิงความได้เปรียบในการต่อสู้แสวงหาอำนาจ ยิ่งเสียกว่าจะเห็นว่าสิ่งดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขจัดความขัดแย้งและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมนีที่นาซีเข้าครองอำนาจอยู่นั้น ได้ทำการเปลี่ยนแปลงสถานะทางอำนาจและทางดินแดนของตนในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1930 โดยการสร้างเสริมอาวุธขึ้นมาใหม่ อันเป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และได้ปฏิบัติการหลอกลวงต่าง ๆ ตลอดจนทำการคุกคามด้วยการขู่ว่าจะทำสงคราม ใช้การเมืองบีบรัฐที่อ่อนแอกว่า และใช้วิถีทางการทูตมีชัยชนะหลายครั้งจนสามารถทำข้อตกลงที่เมืองมิวนิคได้สำเร็จ เป็นต้น แต่พอครั้นยุทธวิธีเหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในระยะต่อมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก็ได้นำชาติของเขาเข้าสู่สงครามกับกลุ่มชาติที่ต้องการรักษาสถานภาพเดิม
Subscribe to:
Posts (Atom)