Google

Thursday, September 24, 2009

Balance of Power : Polycentrism

ดุลอำนาจ : ระบบหลายขั้วอำนาจ

สถานการณ์ดุลอำนาจระหว่างประเทศที่มีลักษณะมีศูนย์กลางอำนาจจำนวนหนึ่ง ระบบหลายขั้วอำนาจหรือระบบดุลอำนาจแบบยืดหยุ่นนี้ เคยเป็นระบบที่มีขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีมหาอำนาจมามีส่วนร่วมในระบบอยู่จำนวนหนึ่ง ต่อมาระบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสองขั้วอำนาจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการควบคุมของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา

ความสำคัญ ที่ระบบหลายขั้วอำนาจกลับคืนมาได้นี้ ก็เพราะเกิดการแตกสลายของการครอบงำการเมือง ระหว่างประเทศโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในระบบสองขั้วอำนาจที่รวมกลุ่มเป็นพันธมิตรแข่งขันกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นระบบหลายขั้วอำนาจประกอบด้วย (1) เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ดุลการคุกคาม“ ทางอาวุธนิวเคลียร์ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งไปลดความน่าเชื่อถือที่สองอภิมหาอำนาจนี้ได้ให้สัญญาไว้ว่าจะมาช่วยปกป้องพันธมิตรของฝ่ายตน (2) เกิดความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตก ซึ่งส่งผลให้มีการลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา (3) เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นมาใหม่ทั้งในประเทศเก่าและประเทศใหม่ทั้งหลาย (4) เกิดรัฐใหม่ขึ้นมามากมาย ซึ่งผู้นำของรัฐเหล่านี้ต่างแลเห็นว่าผลประโยชน์แห่งชาติตนอยู่ที่การสร้างความทันสมัยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้แก่รัฐตนยิ่งเสียกว่าจะพิจารณาในแง่การแข่งขันกันในสงครามเย็น การมีระบบหลายขั้วอำนาจนี้ หมายถึงว่า รัฐที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมามากนี้สามารถตัดสินใจได้โดยอิสระ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อระดับความตึงเครียดในโลกได้ด้วย

No comments:

Post a Comment