Google

Thursday, September 24, 2009

Patterns of Power : Unilateralism

แบบแห่งอำนาจ : ลัทธิการพึ่งพาตนเอง

นโยบายที่รัฐพึ่งพาแต่เพียงทรัพยากรของตนเพื่อความมั่นคง และเพื่อเสริมสร้างผลประโยชน์แห่งชาติ การพึ่งพาตนเองนี้สามารถทำได้ในหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่ง ก็คือ ยึดนโยบายแยกตัวอยู่โดยโดดเดี่ยวแบบเดิม หรือนโยบายแยกตัวอยู่โดยโดดเดี่ยวแบบใหม่ ซึ่งก็หมายความถึงการตัดสินใจที่จะไม่เข้าร่วมในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือจะเข้าร่วมบ้างก็จะทำในลักษณะที่จำกัดจำเขี่ยจริง ๆ หรือไม่เช่นนั้นก็อาจดำเนินนโยบายเป็นกลาง ซึ่งก็หมายถึงการละทิ้งทางเลือกที่จะเข้าร่วมทางการทหารในกิจการระหว่างประเทศ นโยบายเป็นกลางนี้อาจจะละทิ้งทางเลือกในการเข้าร่วมทางการทหารในกิจการระหว่างประเทศ เว้นเสียแต่ว่าจะถูกโจมตี อาจดำเนินนโยบายนี้โดยพลการของตนเอง หรือโดยสนธิสัญญาก็ได้ รัฐต่าง ๆ ที่เข้าร่วมในการเมืองระหว่างปะเทศแต่ยังพึ่งพาสติปัญญาและพลังความสามารถของตนเองอยู่ต่อไป ก็อาจจะเรียกได้ว่ายังยึดนโยบายพึ่งพาตนเองนี้อยู่ได้เหมือนกัน นอกจากนี้แล้วรัฐก็อาจจะยึดโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ก็คือการไม่นำพาตนเองเข้าไปพัวพันกับผลประโยชน์ของมหาอำนาจหนึ่งใด ซึ่งเป็นนโยบายที่ปัจจุบันนิยมกันมากในหมู่ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย

ความสำคัญ ลัทธิหรือนโยบายพึ่งพาตนเองนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นแบบแผนแห่งอำนาจที่นิยมกันมาก แต่ปัจจุบันเป็นโยบายที่เริ่มจะดำเนินได้ยากขึ้น ในทางประวัติศาสตร์ รัฐที่สามารถดำเนินนโยบายพึ่งตนเองได้ตลอดรอดฝั่ง ก็ต้องมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวย คือ ตั้งอยู่ในที่ห่างไกลยากที่จะเข้าไปถึงได้ด้วยระบบการขนส่ง การคมนาคม และเทคโนโลยีทางทหารที่มีอยู่ในสมัยนั้น ๆ ตัวอย่างของรัฐเช่นนี้ ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ซึ่งล้วนแต่ได้รับผลประโยชน์จากสถานการณ์เทคโนโลยี–ภูมิศาสตร์อย่างที่ว่านั้นมาเป็นเวลานาน ส่วนรัฐต่าง ๆ ในภาคพื้นยุโรปมีสถานการณ์ที่ไม่เอื้ออำนวยอย่างนั้น แต่ในอดีตได้ใช้วิธีเข้าร่วมกลุ่มเป็นพันธมิตรเป็นการชั่วคราว หรือในยามฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะเทคโนโลยีทางทหารที่มีใช้อยู่ในสมัยนั้นยังไม่ก้าวหน้ามากนัก ทำให้มีเวลาเตรียมการหลังจากที่ภัยคุกคามได้เกิดขึ้นแล้ว หรือแม้จะเป็นช่วงหลังจากสงครามเกิดขึ้นมาแล้วก็ยังพอเตรียมตัวทันอยู่ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีขึ้นมาแล้ว นโยบายการพึ่งพาตนเองนี้ก็ได้ลดความสำคัญที่จะนำมาใช้เสริมสร้างความมั่นคงและเพิ่มพูนผลประโยชน์แห่งชาติ ยิ่งเมื่อได้มีการพัฒนาทางการคมนาคมทั้งทางบกและทางทะเลให้รวดเร็วยิ่งขึ้น กับมีการพัฒนาเครื่องบินและจรวดขึ้นมาใช้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้รัฐต่าง ๆ อยู่ใกล้กันแค่เอื้อมเท่านั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ความห่างไกลกันมิได้ช่วยปกป้องให้แก่รัฐใดอีกต่อไปแล้ว นอกจากนี้แล้ว วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจ และทำให้อำนาจการทำลายล้างของอาวุธยุทโธปกรณ์และการสงครามในปัจจุบันนี้มีเพิ่มขึ้นอย่างมากจนเกินกว่าที่รัฐต่าง ๆ จะกล้าเสี่ยงที่จะยึดแนวนโยบายการพึ่งตนเองโดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือจากที่อื่น ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ การอิงนโยบายการพึ่งตนเอง จึงได้เสื่อมความนิยมลงไป และรัฐต่าง ๆ ได้เข้าไปอิงระบบความมั่นคงในระดับภูมิภาค โดยการรวมตัวเป็นพันธมิตรเพิ่มมากขึ้น

No comments:

Post a Comment